5 คำบอกเล่าที่ศิลปากร (ไม่ได้) สอนแค่ศิลปะ
8/5/2017
Writer: YelloTalk
ทำความรู้จักมหาวิทยาลัยศิลปากรให้มากขึ้น ก่อนตัดสินจากภาพลักษณ์ที่ได้ยินมา
“นี่ไง เด็กศิลปากร เขากำลังทำงานศิลปะ”
ชายมีอายุคนหนึ่งพูดกับลูกสาววัยประถมของเขา ขณะกำลังเดินผ่านกองขวดที่ถูกทาสีโดยนักศึกษาคนหนึ่ง ซึ่งกำลังนอนอยู่ท่ามกลางกองขวดเหล่านั้น
เรา...ซึ่งกำลังนอนอยู่เหมือนกันบนพื้นข้างสระแก้ว (สระใหญ่กลางวิทยาเขต) จึงเกิดสงสัยขึ้นมาว่า คนภายนอกมองนักศึกษาศิลปากรเป็นศิลปินผู้รังสรรค์ผลงานศิลปะกันทุกคนเลยหรืออย่างไร เพราะคำบ่นหลายๆ ครั้งของนักศึกษาหลายๆ คนระหว่างที่นั่งคุยกับเพื่อนบนสะพานสระแก้ว (ซึ่งในขณะนั้นเรามักจะว่ายน้ำเล่นอยู่) ก็คือ
“ทำไมลุงป้าน้าอา ปู่ย่าตายายทุกคน ต้องถามฉันว่า วาดรูปเก่งหรือถึงได้เรียนศิลปากร”
ความเข้าใจผิดเริ่มบานปลายและค้างคามานานเกินไป เราในฐานะนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งนี้ จึงจำเป็นต้องแก้ความเข้าใจผิดนี้เสียใหม่ ด้วย 5 คำอธิบายที่จะช่วยเปลี่ยนมุมมองของคนทั่วไปที่มีต่อนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร อีกทั้งอธิบายว่า “เด็กศิลปากรไม่จำเป็นต้องเป็นศิลปินที่วาดรูปได้” เพียงอย่างเดียว
1) ‘ศิลปากร’ เป็นคำสนธิระหว่าง ศิลปะ และ อากร
คำว่า ‘ศิลปะ’ มีความหมายว่า ฝีมือหรือฝีมือทางการช่างที่ทำให้วิจิตรพิสดาร และคำว่า ‘อากร’ มีความหมายว่าบ่อเกิดหรือที่เกิด ดังนั้น ‘ศิลปากร’ จึงมีความหมายว่า บ่อเกิดแห่งศิลปะ ด้วยเหตุนี้ หลายคนจึงเข้าใจว่า ศิลปากรสอนแค่ศิลปะ เพราะมีคำว่า ‘ศิลปะ’ ปรากฏอยู่ในคำนั่นเอง แต่นั่นเป็นเพียงแค่ชื่อเท่านั้น เพราะถ้าทุกอย่างบนโลกใบนี้มีคุณสมบัติตามชื่อคน เช่น ชื่อ ‘สุริยา’ คนๆ นั้นก็คงเปล่งแสงได้ดั่งพระอาทิตย์แล้ว ดังนั้นขออย่าได้ยึดติดกับชื่อที่มีคำว่า ‘ศิลปะ’ นี้อีกต่อไปเลย
2) ‘ศิลปากร’ พ้องกับชื่อกรมหนึ่งของไทย
กรมนั้นคือกรมที่ทำงานด้านศิลปวัฒนธรรม หรือที่รู้จักกันในนาม ‘กรมศิลปากร’ ดูเหมือนว่า มหาวิทยาลัยแห่งนี้จะไม่มีความเกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกับกรมดังกล่าวเลย แล้วทำไมถึงได้ชื่อนี้มา ซึ่งหากพิจารณาถึงจุดประสงค์การสถาปนามหาวิทยาลัยแห่งนี้ ที่ต้องการจะสร้างสถาบันเน้นส่งเสริมความรู้ด้านศิลปะ ก็พอจะสมเหตุสมผลอยู่บ้าง แล้วทำไมไม่ตั้งชื่อว่า ศิลปศาสตร์ ศิลปินพัฒนศิลป์ ส่งเสริมศิลป์ หรือศิลป์อื่นๆ อีกมากมาย
เรื่องนี้อธิบายให้เข้าใจได้ง่ายมาก เพราะแรกเริ่มเดิมทีนั้น ‘มหาวิทยาลัยศิลปากร’ ไม่ใช่ ‘มหาวิทยาลัย’ แต่ถือกำเนิดจาก ‘โรงเรียนปราณีตศิลปกรรม’ ในสังกัดกรมศิลปากร ซึ่งชื่อ ‘ศิลปากร’ นั้น มาจากพระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวความว่า
“...แลให้ยกกรมพิพิธภัณฑ์จากกระทรวงธรรมการมารวมกันตั้งขึ้นเป็น ‘กรมศิลปากร’ …”
ดังนั้น การใช้ชื่อ ‘ศิลปากร’ จึงดูเหมาะสมและถูกต้อง เพราะมหาวิทยาลัยศิลปากร มีความเกี่ยวข้องกับกรมศิลปากรในอดีต แต่ในปัจจุบันนี้ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกันแล้ว
3) การแต่งตัวที่ค่อนข้างเป็นเอกลักษณ์
ไม่ได้หมายความว่า คนที่แต่งตัวแปลกจะต้องวาดรูปเป็น ความเชื่อที่ว่า ศิลปินมักแต่งตัวและทำตัวแปลกๆ ชอบแหกกรอบสังคมนั้น คงจะต้องปรับมุมมองกันเสียใหม่ เพราะความจริงแล้ว จุดประสงค์ของศิลปินแต่ละคน มักพยายามสื่อและสะท้อนค่านิยมของตัวเองผ่านงานของพวกเขาแทบทั้งนั้น
ประเด็นคือ แล้วทำไมนักศึกษาศิลปากรต้องแต่งตัวแปลกๆ ข้อนี้เราก็ไม่ทราบจริงๆ เพราะตัวเองก็ไม่จำเป็นต้องแต่งองค์ทรงเครื่องอะไร แต่หากให้สันนิษฐานตามบริบทสังคมศิลปากรทับแก้ว (คำติดปากที่ใช้เรียกวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์) คงมีสาเหตุมาจากการเปิดกว้างทางการแต่งกาย เพราะสำหรับที่นี่ นอกจากคณะทางศิลปะอย่างจิตรกรรมฯหรือมัณฑนศิลป์แล้ว บางสาขาวิชาของคณะอักษรศาสตร์ ก็ยังเปิดกว้างเรื่องการแต่งกายของนักศึกษาด้วย
ความเฟี้ยวและเจ๋งนี้ จึงทำให้นักศึกษาคณะอื่นๆ ได้รับอิทธิพลการแต่งตัวไปไม่มากก็น้อย นอกจากนั้นบรรยากาศของวิทยาเขตนี้ ซึ่งอบอุ่นและผ่อนคลาย หรือพูดง่ายๆ ว่า ‘ชิลล์’ ไม่ต่างจากอยู่บ้าน ก็ยังเป็นอีกเหตุหนึ่งที่ทำให้นักศึกษาไม่รู้สึกแปลกแยกจากสังคม (อย่างในกรุงเทพฯ) หากแต่งตัวแปลกไป
ขออีกหน่อย นักศึกษาหลายคนในทุกๆ คณะที่แต่งตัวไม่แปลกก็มี ฉะนั้นแล้วขออย่าได้เหมารวมด้วยภาพลักษณ์และความเชื่อเดิมๆ อีกเลยว่า ศิลปินต้องแต่งตัวแปลก และคนแต่งตัวแปลกจะต้องเป็นศิลปิน
4) ‘ศิลปากร’ มีหลักสูตรมากมาย ไม่ใช่เฉพาะด้านศิลปะ
หลายคนอาจยังไม่รู้ว่า นอกจากจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์แล้ว มหาวิทยาลัยศิลปากรยังมีคณะอื่นๆ อีกถึง14 คณะวิชาด้วยกัน ได้แก่ สถาปัตยกรรมศาสตร์ โบราณคดี มัณฑนศิลป์ อักษรศาสตร์ ศึกษาศาสตร์วิทยาศาสตร์ เภสัชศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์และเทศโนโลยีอุตสาหกรรม ดุริยางคศาสตร์ สัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร วิทยาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และวิทยาลัยนานาชาติ
อย่างไรก็ตาม คณะวิชาที่วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม ที่เราอยู่แห่งนี้ ก็รวบรวมคณะวิชาไว้ครึ่งหนึ่งของศิลปากรแล้ว คือจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ มัณฑนศิลป์ อักษรศาสตร์ ศึกษาศาสตร์วิทยาศาสตร์ เภสัชศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ด้วยเหตุนี้ เราก็ยังไม่เข้าใจคนที่จูงมือลูกสาวเดินผ่านไปอยู่ดีว่า ตัดสินเด็กหนุ่มคนนั้นจากอะไร ตัวเขามายืนอยู่ในรั้วมหาวิทยาลัยขนาดนี้แล้ว ไม่รู้บ้างเลยหรือว่า ศิลปากรมีคณะทางวิทยาศาสตร์ ไม่คิดบ้างเลยหรือว่า นักศึกษาคนนั้นอาจจะกำลังเก็บขวดเก็บถังสีขาย แต่บังเอิญเก็บเพลินเกินเวลาปิดหอ จึงเข้าไปนอนหอในไม่ได้ และเผชิญชะตากรรมรับพลังธรรมชาติอยู่กลางลานใกล้ๆ หอในก็เป็นได้
5) สมมติฐานของนักศึกษาเก็บขวดขายข้างต้นนั้น เราล้อเล่น
นักศึกษาคนดังกล่าวเพียงแค่เผลอหลับไป เพราะว่าระบายสีขวดกองนั้นจนดึกดื่น อันที่จริงแล้ว ไม่มีนักศึกษาคนใด พยายามทำตัวเป็นศิลปินนอนกลางดินกินกลางทราย แต่ด้วยบรรยากาศของวิทยาเขต ซึ่งค่อนข้างมีความเป็นอิสระทำให้เขาสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ และอีกข้อหนึ่งคือกองขวดเหล่านั้น ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของงานศิลปะจริงๆเพราะว่าถูกนำไปใช้ประกอบฉากละครเวทีของเอกการละครคณะอักษรศาสตร์นั่นเอง
ทั้งหมดทั้งมวลที่ยกมากล่าว เราก็หวังว่าทุกคนจะปรับมุมมองและเข้าใจเด็กศิลปากรมากขึ้น เพราะหากมองในอีกมุมหนึ่งแล้ว ไม่ว่าสาขาวิชาไหนหรือมหาวิทยาลัยใด ก็ล้วนแล้วแต่สอนให้นักศึกษามีศิลปะในสาขาวิชาของตัวเอง และมีศิลปะในการทำงานและการใช้ชีวิตต่อไป
คงไม่ใช่เรื่องปกติ ที่มีนักศึกษาสักคนตัดสินใจนอนบนพื้นเช่นนั้น แต่กลับเป็นเรื่องปกติสำหรับเรา
อย่าเข้าใจผิด เราไม่ได้พยายามทำตัวเป็นศิลปิน แต่ด้วยธรรมชาติสร้างให้เรามาเป็นอย่างนี้
คุณคงอยากรู้ว่าเราเป็นใคร
ลองไปถามเด็กศิลปากรนครปฐมดูสิ เพราะทุกคนต่างรู้จักเรา (ผู้เขียน) เป็นอย่างดี
Credit:
รูปภาพจาก facebook คุณ วชิรวิทย์ ศานติพิบูล
เนื้อหาจากเว็บไซด์ของมหาวิทยาลัยศิลปากร www.old.su.ac.th/html_about/about_background.asp
ทำความรู้จักมหาวิทยาลัยศิลปากรให้มากขึ้น ก่อนตัดสินจากภาพลักษณ์ที่ได้ยินมา
“นี่ไง เด็กศิลปากร เขากำลังทำงานศิลปะ”
ชายมีอายุคนหนึ่งพูดกับลูกสาววัยประถมของเขา ขณะกำลังเดินผ่านกองขวดที่ถูกทาสีโดยนักศึกษาคนหนึ่ง ซึ่งกำลังนอนอยู่ท่ามกลางกองขวดเหล่านั้น
เรา...ซึ่งกำลังนอนอยู่เหมือนกันบนพื้นข้างสระแก้ว (สระใหญ่กลางวิทยาเขต) จึงเกิดสงสัยขึ้นมาว่า คนภายนอกมองนักศึกษาศิลปากรเป็นศิลปินผู้รังสรรค์ผลงานศิลปะกันทุกคนเลยหรืออย่างไร เพราะคำบ่นหลายๆ ครั้งของนักศึกษาหลายๆ คนระหว่างที่นั่งคุยกับเพื่อนบนสะพานสระแก้ว (ซึ่งในขณะนั้นเรามักจะว่ายน้ำเล่นอยู่) ก็คือ
“ทำไมลุงป้าน้าอา ปู่ย่าตายายทุกคน ต้องถามฉันว่า วาดรูปเก่งหรือถึงได้เรียนศิลปากร”
ความเข้าใจผิดเริ่มบานปลายและค้างคามานานเกินไป เราในฐานะนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งนี้ จึงจำเป็นต้องแก้ความเข้าใจผิดนี้เสียใหม่ ด้วย 5 คำอธิบายที่จะช่วยเปลี่ยนมุมมองของคนทั่วไปที่มีต่อนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร อีกทั้งอธิบายว่า “เด็กศิลปากรไม่จำเป็นต้องเป็นศิลปินที่วาดรูปได้” เพียงอย่างเดียว
1) ‘ศิลปากร’ เป็นคำสนธิระหว่าง ศิลปะ และ อากร
คำว่า ‘ศิลปะ’ มีความหมายว่า ฝีมือหรือฝีมือทางการช่างที่ทำให้วิจิตรพิสดาร และคำว่า ‘อากร’ มีความหมายว่าบ่อเกิดหรือที่เกิด ดังนั้น ‘ศิลปากร’ จึงมีความหมายว่า บ่อเกิดแห่งศิลปะ ด้วยเหตุนี้ หลายคนจึงเข้าใจว่า ศิลปากรสอนแค่ศิลปะ เพราะมีคำว่า ‘ศิลปะ’ ปรากฏอยู่ในคำนั่นเอง แต่นั่นเป็นเพียงแค่ชื่อเท่านั้น เพราะถ้าทุกอย่างบนโลกใบนี้มีคุณสมบัติตามชื่อคน เช่น ชื่อ ‘สุริยา’ คนๆ นั้นก็คงเปล่งแสงได้ดั่งพระอาทิตย์แล้ว ดังนั้นขออย่าได้ยึดติดกับชื่อที่มีคำว่า ‘ศิลปะ’ นี้อีกต่อไปเลย
2) ‘ศิลปากร’ พ้องกับชื่อกรมหนึ่งของไทย
กรมนั้นคือกรมที่ทำงานด้านศิลปวัฒนธรรม หรือที่รู้จักกันในนาม ‘กรมศิลปากร’ ดูเหมือนว่า มหาวิทยาลัยแห่งนี้จะไม่มีความเกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกับกรมดังกล่าวเลย แล้วทำไมถึงได้ชื่อนี้มา ซึ่งหากพิจารณาถึงจุดประสงค์การสถาปนามหาวิทยาลัยแห่งนี้ ที่ต้องการจะสร้างสถาบันเน้นส่งเสริมความรู้ด้านศิลปะ ก็พอจะสมเหตุสมผลอยู่บ้าง แล้วทำไมไม่ตั้งชื่อว่า ศิลปศาสตร์ ศิลปินพัฒนศิลป์ ส่งเสริมศิลป์ หรือศิลป์อื่นๆ อีกมากมาย
เรื่องนี้อธิบายให้เข้าใจได้ง่ายมาก เพราะแรกเริ่มเดิมทีนั้น ‘มหาวิทยาลัยศิลปากร’ ไม่ใช่ ‘มหาวิทยาลัย’ แต่ถือกำเนิดจาก ‘โรงเรียนปราณีตศิลปกรรม’ ในสังกัดกรมศิลปากร ซึ่งชื่อ ‘ศิลปากร’ นั้น มาจากพระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวความว่า
“...แลให้ยกกรมพิพิธภัณฑ์จากกระทรวงธรรมการมารวมกันตั้งขึ้นเป็น ‘กรมศิลปากร’ …”
ดังนั้น การใช้ชื่อ ‘ศิลปากร’ จึงดูเหมาะสมและถูกต้อง เพราะมหาวิทยาลัยศิลปากร มีความเกี่ยวข้องกับกรมศิลปากรในอดีต แต่ในปัจจุบันนี้ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกันแล้ว
3) การแต่งตัวที่ค่อนข้างเป็นเอกลักษณ์
ไม่ได้หมายความว่า คนที่แต่งตัวแปลกจะต้องวาดรูปเป็น ความเชื่อที่ว่า ศิลปินมักแต่งตัวและทำตัวแปลกๆ ชอบแหกกรอบสังคมนั้น คงจะต้องปรับมุมมองกันเสียใหม่ เพราะความจริงแล้ว จุดประสงค์ของศิลปินแต่ละคน มักพยายามสื่อและสะท้อนค่านิยมของตัวเองผ่านงานของพวกเขาแทบทั้งนั้น
ประเด็นคือ แล้วทำไมนักศึกษาศิลปากรต้องแต่งตัวแปลกๆ ข้อนี้เราก็ไม่ทราบจริงๆ เพราะตัวเองก็ไม่จำเป็นต้องแต่งองค์ทรงเครื่องอะไร แต่หากให้สันนิษฐานตามบริบทสังคมศิลปากรทับแก้ว (คำติดปากที่ใช้เรียกวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์) คงมีสาเหตุมาจากการเปิดกว้างทางการแต่งกาย เพราะสำหรับที่นี่ นอกจากคณะทางศิลปะอย่างจิตรกรรมฯหรือมัณฑนศิลป์แล้ว บางสาขาวิชาของคณะอักษรศาสตร์ ก็ยังเปิดกว้างเรื่องการแต่งกายของนักศึกษาด้วย
ความเฟี้ยวและเจ๋งนี้ จึงทำให้นักศึกษาคณะอื่นๆ ได้รับอิทธิพลการแต่งตัวไปไม่มากก็น้อย นอกจากนั้นบรรยากาศของวิทยาเขตนี้ ซึ่งอบอุ่นและผ่อนคลาย หรือพูดง่ายๆ ว่า ‘ชิลล์’ ไม่ต่างจากอยู่บ้าน ก็ยังเป็นอีกเหตุหนึ่งที่ทำให้นักศึกษาไม่รู้สึกแปลกแยกจากสังคม (อย่างในกรุงเทพฯ) หากแต่งตัวแปลกไป
ขออีกหน่อย นักศึกษาหลายคนในทุกๆ คณะที่แต่งตัวไม่แปลกก็มี ฉะนั้นแล้วขออย่าได้เหมารวมด้วยภาพลักษณ์และความเชื่อเดิมๆ อีกเลยว่า ศิลปินต้องแต่งตัวแปลก และคนแต่งตัวแปลกจะต้องเป็นศิลปิน
4) ‘ศิลปากร’ มีหลักสูตรมากมาย ไม่ใช่เฉพาะด้านศิลปะ
หลายคนอาจยังไม่รู้ว่า นอกจากจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์แล้ว มหาวิทยาลัยศิลปากรยังมีคณะอื่นๆ อีกถึง14 คณะวิชาด้วยกัน ได้แก่ สถาปัตยกรรมศาสตร์ โบราณคดี มัณฑนศิลป์ อักษรศาสตร์ ศึกษาศาสตร์วิทยาศาสตร์ เภสัชศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์และเทศโนโลยีอุตสาหกรรม ดุริยางคศาสตร์ สัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร วิทยาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และวิทยาลัยนานาชาติ
อย่างไรก็ตาม คณะวิชาที่วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม ที่เราอยู่แห่งนี้ ก็รวบรวมคณะวิชาไว้ครึ่งหนึ่งของศิลปากรแล้ว คือจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ มัณฑนศิลป์ อักษรศาสตร์ ศึกษาศาสตร์วิทยาศาสตร์ เภสัชศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ด้วยเหตุนี้ เราก็ยังไม่เข้าใจคนที่จูงมือลูกสาวเดินผ่านไปอยู่ดีว่า ตัดสินเด็กหนุ่มคนนั้นจากอะไร ตัวเขามายืนอยู่ในรั้วมหาวิทยาลัยขนาดนี้แล้ว ไม่รู้บ้างเลยหรือว่า ศิลปากรมีคณะทางวิทยาศาสตร์ ไม่คิดบ้างเลยหรือว่า นักศึกษาคนนั้นอาจจะกำลังเก็บขวดเก็บถังสีขาย แต่บังเอิญเก็บเพลินเกินเวลาปิดหอ จึงเข้าไปนอนหอในไม่ได้ และเผชิญชะตากรรมรับพลังธรรมชาติอยู่กลางลานใกล้ๆ หอในก็เป็นได้
5) สมมติฐานของนักศึกษาเก็บขวดขายข้างต้นนั้น เราล้อเล่น
นักศึกษาคนดังกล่าวเพียงแค่เผลอหลับไป เพราะว่าระบายสีขวดกองนั้นจนดึกดื่น อันที่จริงแล้ว ไม่มีนักศึกษาคนใด พยายามทำตัวเป็นศิลปินนอนกลางดินกินกลางทราย แต่ด้วยบรรยากาศของวิทยาเขต ซึ่งค่อนข้างมีความเป็นอิสระทำให้เขาสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ และอีกข้อหนึ่งคือกองขวดเหล่านั้น ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของงานศิลปะจริงๆเพราะว่าถูกนำไปใช้ประกอบฉากละครเวทีของเอกการละครคณะอักษรศาสตร์นั่นเอง
ทั้งหมดทั้งมวลที่ยกมากล่าว เราก็หวังว่าทุกคนจะปรับมุมมองและเข้าใจเด็กศิลปากรมากขึ้น เพราะหากมองในอีกมุมหนึ่งแล้ว ไม่ว่าสาขาวิชาไหนหรือมหาวิทยาลัยใด ก็ล้วนแล้วแต่สอนให้นักศึกษามีศิลปะในสาขาวิชาของตัวเอง และมีศิลปะในการทำงานและการใช้ชีวิตต่อไป
คงไม่ใช่เรื่องปกติ ที่มีนักศึกษาสักคนตัดสินใจนอนบนพื้นเช่นนั้น แต่กลับเป็นเรื่องปกติสำหรับเรา
อย่าเข้าใจผิด เราไม่ได้พยายามทำตัวเป็นศิลปิน แต่ด้วยธรรมชาติสร้างให้เรามาเป็นอย่างนี้
คุณคงอยากรู้ว่าเราเป็นใคร
ลองไปถามเด็กศิลปากรนครปฐมดูสิ เพราะทุกคนต่างรู้จักเรา (ผู้เขียน) เป็นอย่างดี
Credit:
รูปภาพจาก facebook คุณ วชิรวิทย์ ศานติพิบูล
เนื้อหาจากเว็บไซด์ของมหาวิทยาลัยศิลปากร www.old.su.ac.th/html_about/about_background.asp